วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การวัดผลและประเมินผล

ใช้เกณฑ์การวัดตามกำหนดของวิทยาลัย การวัดผล(100%)
1.พิจารณาจากงานที่ได้รับมอบหมาย 20 %
2.พิจารณาจากใบงาน 20 %
3.พิจารณาจากกิจนิสัย ความสนใจ ,ความรับผิดชอบ และการเข้าร่วมกิจกรรม 20 %
4.การสอบภาคทฤษฎีและการสอบปฏิบัติ 40 %

จุดประสงค์รายวิชา

1.เพื่อให้เข้าใจหลักการเขียนโปรแกรมในลักษณะ GUI (Graphic User Interface)
2.เพื่อให้สามารถพัฒนาระบบการเขียนโปรแกรมทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ Window
3.เพื่อให้สามารถคอมไพล์ (Compile) Debug และการทดสอบใช้งานโปรแกรมที่เขียน
4.เพื่อให้สามารถใช้ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานภายในระบบปฏิบัติการ Window มาประยุกต์เขียนโปรแกรมใช้งานเบื้องต้น
5.เพื่อให้มีกิจนิสัยในการทำงานด้วยความประณีต รอบคอบและปลอดภัย ตระหนักถึงคุณภาพของงานและมีจิริยธรรมในงานอาชีพ

สมรรถนะงานอาชีพ (อาชีพที่ทำได้จากการเรียนรายวิชานี้ระบุเพียง 1 อาชีพ)
-โปรแกรมเมอร์

คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาและปฏิบัติ หลักการเขียนโปรแกรมในลักษณะ GUI (Graphic User Interface ) การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วยภาษาที่ทำงานภายใต้ Window Visual Basic, Delphi ,Visual C++ เพื่อให้รู้จักการกำหนดคุณสมบัติ(Property)Method การโปรแกรมคำสั่งตามเหตุการณ์ (Event-Driver Programming) class and objects การสืบทอดคุณสมบัติ (Inheritance)

วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่2009

ปัจจุบันโอกาสที่ไวรัสสามารถติดต่อจากคนสู่คนสูงเริ่มสูงมากและเริ่มมีการระบาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่อัตราเสี่ยงจากการรับประทานเนื้อสุกรและอาหารที่ประกอบจากเนื้อสุกรนั้นไม่มีโอกาสเลย หากเราพบผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัด ควรสวมจะหน้ากากอนามัยคือเราควรจะพกหน้ากากอนามัยติดตัวไว้ตลอดเวลาและอีกอย่างหนึ่งก็คือควรหลีกเลี่ยงการไปในที่ชุมชนหรือสถานที่แออัด เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าคนไหนติดเชื้ออยู่ ไปพบแพทย์เมื่อเรารู้สึกว่ามีอาการเป็นไข้เพื่อได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง โดยรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัก ผลไม้ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ งดสูบบุหรี่ งดดื่มเหล้า ล้างมือบ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาด

อาการและการสังเกต

อาการป่วยของผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น จะไม่แตกต่างจากผู้ที่ป่วยด้วยโรคไข้หวัดทั่วๆ ไป ลักษณะจะคล้ายกับเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ มีน้ำมูก ต้องนำมาแยกเชื้อดูในห้องปฏิบัติการ เชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่มีการแพร่ติดต่อเช่นเดียวกับโรคไข้หวัดใหญ่ใน คนโดยทั่วไป เชื้อที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย แพร่ไปยังผู้อื่นโดยการไอหรือจามรดกันในระยะใกล้ชิด หรือติดจากมือ และสิ่งของที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่ และเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก และตา เช่น การแคะจมูก การขยี้ตา ไม่ติดต่อจากการรับประทานเนื้อสุกร

การรักษา

องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนว่าการฉีดวัคซีนป้องกัน ไข้หวัดใหญ่นั้นยังไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสนี้ได้ เพราะว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่ยังไม่สามารถต้านเชื่อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ในขณะนี้ แต่จากผลการทดสอบในห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่สามารถรักษาได้ด้วยยาทามิฟูล และยารีเลนซาเป็นยาปฏิชีวนะที่สามารถต้านไวรัสสายพันธุ์ใหม่ได้ในขณะนี้ แต่ต้องรับยาภายใน 48 ชั่วโมง เพราะมีโอกาสที่เชื้อไวรัสจะกลายพันธุ์ได้อีกในอนาคต

ระดับการระบาด
ระดับการระบาดของเชื้อโรค เป็นตัวเลขระดับการระบาดของเชื้อโรคสายพันธุ์ต่างๆที่มีขึ้นและเกิดการระบาดขึ้นบนโลก เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทยจากเหตุการณ์การระบาดของไข้หวัดใหญ่สุกรสายพันธุ์ใหม่ พ.ศ. 2552 ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ 4

การแบ่งจะมีอยู่ทั้งหมด 6 ระดับ โดย องค์การอนามัยโลก ดังต่อไปนี้

ระดับทั่วไป

ระดับ 1 จะเป็นระดับที่ยังไม่พบเชื้อโรคในมนุษย์ หรืออาจจะมีเชื้อโรคดังกล่าวในสัตว์บางตัว แต่ความเสี่ยงที่จะระบาดสู่คนอยู่ในระดับต่ำ

ระดับ 2 มีการระบาดอย่างชัดเจนในสัตว์ ยังไม่มีการระบาดในมนุษย์ แต่ความเสี่ยงที่จะระบาดสู่คนสูงขึ้น

ระดับเตือนภัย

ระดับ 3 จะเป็นระดับที่มีการพบการระบาดจากสัตว์สู่คน แต่ยังไม่พบการระบาดจากคนสู่คน

ระดับ 4 พบการระบาดจากคนสู่คน แต่เชื้อโรคยังไม่สามารถรับมือกับระบบภูมิต้านทานในร่างกายได้ดีนัก การติดโรคที่ยังอยู่ในระดับนี้จึงยากมาก(แต่ก็ติดโรคได้) ดังนั้น การระบาดในระดับนี้สามารถจำกัดไว้ในวงแคบได้

ระดับ 5 มีการระบาดในวงกว้างขึ้น เชื้อโรคสามารถรับมือกับระบบภูมิต้านทานในร่างกายได้ดีขึ้น แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์ การติดโรคที่อยู่ในระดับนี้ง่ายกว่าระดับ 4 แต่ก็ยังจัดอยู่ในระดับที่ยาก จึงยังสามารถจำกัดวงการระบาดได้เช่นกัน

ระดับระบาด

ระดับ 6 เกิดการระบาดของเชื้อโรคทั่วโลก

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

**โค้ดชื่อและเลขที่นักศึกษา**

#include #include main ()
{
clrscr();
printf(" -------------------------\n");
printf(" My Name Is Nungrethai Wiriya\n");
printf(" No :7 \n");

printf(" -------------------------\n");
getch();
return ();
}

**รห้สแอสกี้ชื่อนักศึกษา**

หนึ่งฤทัย วิริยะ
หนึ่งฤทัย
11001011101110011101011011101000101001111100010010110111

วิริยะ
11010001110000101100011111010100110100111101010011000010

Nungrethai Wiriya
Nungerthail
01001110011101010110111001100111011100100110010101110100011010000110000101101001

Wiriya
010101110110100101110010011010010111100101100001

การพัฒนาทักษะ 5 ด้าน




การพัฒนาการเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาที่เรียนกับครูจันทร์เพ็ญ เป็นผู้มี:

1. IQ (Intelligence Quotient ) การพัฒนาให้ผู้เรียน ทักษะกรบวนการคิด กระบวนการเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดขึ้น ใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง2. EQ (Emotion Quatient) การพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักตนเองและมีความมั่นคงทางอารมณ์

3.TQ (Technology Quotient) การพัฒนาความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยีและรู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีต่าง ๆให้เหมาะสมกับความต้องการ

4. AQ (Adversity Quotient) การพัฒนาทักษะการแก้ไขปัญหาที่ไม่เคยพบมาก่อนและการเผชิญสภาพปัญหาที่หลากหลาย ให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงและทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้

5. MQ(Morality Quotient) ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนมีจิตใจงดงาม รู้จักขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีและอยู่ในสังคม ความรู้ (Knowledge -based sociaty ) ได้เป็นอย่างดี

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2552

รายงานผลการเรียนแต่ละสัปดาห์


สัปดาห์ที่ 1
- ประวัติส่วนตัวของตัวเอง
- บรรยายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการเรียน วิชา การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 1
- ความหมายของวิชาที่เรียน
- บอกการพัฒนา ไอคิว
- สั่งทำบ๊ลอก

สัปดาห์ที่ 2
- เขียนโปรแกรมการท่องเที่ยว
- โปรแกรมชีวิตของตัวเราเอง
- เขียนสิ่งที่อยากเป็น
- สอนเกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
- การวิเคราะห์งาน
- การพัฒนาอัลกอการิทึม

สัปดาห์ที่ 3
- สั่งให้ตรวจงานที่ทำในสัปดาห์ที่ 2
- สั่งให้นำเมล์ไปใส่ในบล็อกของอาจารย์
- สอบเก็บคะแนน เรื่อง การพัฒนาโปรแกรมและอัลกอริทึม


สัปดาห์ที่ 4
- ไหว้ครู

สัปดาห์ที่ 6
- สอนเกี่ยวกับการทำผังงาน
- สั่งงานแบบฝึกหัดให้เขียน Flowhart

Source Program ประวัติส่วนตัว




#include
#include
main()
{
clrscr();
cout<<"Miss. Nungrethai Wiriya \n"; cout<<"Nick name Nung \n"; cout<<"age 18 year old\n"; cout<<"Address 89 M.3 T. Nangtakean A. Meung J. Samutsongkram 75000\n"; cout<<"Weight 40 kg.\n"; cout<<"High 151 cm.\n"; getch(); return 0; }

ประวัติความเป็นมาของโปรแกรม ภาษา C

ประวัติภาษาซี

ภาษาซีพัฒนาขึ้นมาในปี 1970 โดย Dennis Ritchie แห่ง Bell Telephone Laboratories, Inc. (ปัจจุบันคือ AT&T Bell Laboratories) ซึ่งภาษาซีนั้นมี ต้นกำเนิดมาจากภาษา 2 ภาษา คือ ภาษา BCPL และ ภาษา B ซึ่งต่างก็เป็น ภาษาที่พัฒนาขึ้นมาใน Bell Laboratories เช่นกัน ภาษาซีนั้นถูกใช้งานอยู่ เพียงใน Bell Laboratories จนกระทั่งปี 1978 Brian Kernighan และ Ritchie นั้นเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ"K&R C"
หลังจากที่ตีพิมพ์ข้อกำหนดของ K&R นักคอมพิวเตอร์มืออาชีพรู้สึก ประทับใจกับคุณสมบัติที่น่าสนใจของภาษาซี และเริ่มส่งเสริมการใช้งาน ภาษาซีมากขึ้น ในกลางปี 1980 ภาษาซีก็กลายเป็นภาษาที่ได้รับความนิยม โดยทั่วไป มีการพัฒนาตัวแปลโปรแกรม และตัวแปลคำสั่งภาษาซีจำนวนมาก สำหรับคอมพิวเตอร์ทุกขนาด และภาษาซีก็ถูกนำมาไปใช้สำหรับพัฒนา โปรแกรมเชิงพาณิชย์เป็นจำนวนมาก ยิ่งไปกว่านั้นโปรแกรมเชิงพาณิชย์ที่เคย พัฒนาขึ้นมาโดยใช้ภาษาอื่น ก็ถูกเขียนขึ้นใหม่โดยใช้ภาษาซี เนื่องจากความ ต้องการใช้ความได้เปรียบทางด้านประสิทธิภาพ และความสามารถในการ เคลื่อนย้ายได้ของภาษาซี
ตัวแปลโปรแกรมภาษาซีที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาในเชิงพาณิชย์นั้น จะมี ความแตกต่างกับข้อกำหนดของ Kernighan และ Ritchie อยู่บ้าง จาก จุดนี้เองทำให้เกิดความไม่เข้ากันระหว่างตัวแปลโปรแกรมภาษาซีซึ่งก็ทำ ให้สูญเสียคุณสมบัติการเคลื่อนย้ายได้ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของภาษา ดังนั้นสถาบันมาตรฐานแห่งชาติอเมริกัน (American National Standard Institute) หรือ แอนซี (ANSI) จึงเริ่มจัดทำมาตรฐานของภาษาซีขึ้น ANSI committee X3J11X ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงการดำเนินงาน

จุดเด่นของภาษาซี



เป็นภาษาที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างจึงเขียนโปรแกรมง่าย โปรแกรมที่ เขียนขึ้นจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง สั่งงานคอมพิวเตอร์ได้ รวดเร็วกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ สั่งงานอุปกรณ์ในระบบคอมพิวเตอร์ได้เกือบทุกส่วนของฮาร์ดแวร์ ซึ่งภาษาระดับสูงภาษาอื่นทำงานดังกล่าวได้น้อยกว่า คอมไพเลอร์ภาษาซีทุกโปรแกรมในท้องตลาดจะทำงานอ้างอิง มาตรฐาน(ANSI= American National Standards Institute) เกือบ ทั้งหมด จึงทำให้โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้ กับคอมพิวเตอร์ได้ทุกรุ่นที่มาตรฐาน ANSI รับรอง โปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซีสามารถนำไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ซีพียูต่างเบอร์กันได้ หรือกล่าวได้ว่าโปรแกรมมีความยืดหยุ่น (portabiliy) สูง · สามารถนำภาษาซีไปใช้ในการเขียนโปรแกรมประยุกต์ได้หลายระดับ เช่น เขียนโปรแกรมจัดระบบงาน (OS) คอมไพเลอร์ของภาษาอื่น โปรแกรมสื่อสารข้อมูลโปรแกรมจัดฐานข้อมูล โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ (AI = Artificial Inteeligent) รวมทั้งโปรแกรมคำนวณงานทางด้าน วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น มีโปรแกรมช่วย (tool box) ที่ช่วยในการเขียนโปรแกรมมาก และ ราคาไม่แพงหาซื้อได้ง่าย เช่น vitanin c หรืออื่น ๆ สามารถประกาศข้อมูลได้หลายชนิดและหลายรูปแบบ ทำให้สะดวก รวดเร็วต่อการพัฒนาโปรแกรมตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ประยุกต์ใช้ในงานสื่อสารข้อมูล และงานควบคุมที่ต้องการความแม่นยำ ในเรื่องเวลา (real time application) ได้ดีกว่าภาษาระดับสูงอื่น ๆ หลาย ๆ ภาษา สามารถเขียนโปรแกรมด้วยเทคนิคแบบโอโอพี (OOP = Object Oriented Programming) ได้หากใช้ภาษาซีรุ่น TURBO C++ ขึ้นไป ทำให้สามารถพัฒนา โปรแกรมประยุกต์เพื่อใช้งานได้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม

จุดด้อยของภาษาซี



ภาษา C ไม่มีตัวจัดการจองหน่วยความจำในตัวเอง เมื่อเวลาเราต้องการจองหน่วยความจำแบบ Dynamic ภาษา C ทำ wrapper เพื่อติดต่อกับ OS เพื่อขอจองหน่วยความจำโดยตรง ปัญหาก็คือ การติดต่อกันระหว่างโปรแกรมของเรากับ OS เป็นไปอย่างหลวมๆ ถ้าโปรแกรมลืมบอก OS ว่าเลิกจองหน่วยความจำดังกล่าว หน่วยความจำนั้นก็จะถูกจองไปเรื่อยๆ เราจะเห็นเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วในตอนเช้า แต่พอตกบ่ายก็ช้าลงจนทำงานไม่ไหว จนสุดท้ายต้อง boot ใหม่ สาเหตุหลักของปัญหานี้คือ สิ่งที่เรียกว่าหน่วยความจำรั่ว หรือ Memory Leak